ชุดสตรีไทย กับ สายน้ำไหล ที่ไม่มีวันหวนกลับคืน ( สู่อดีต ) ?

                                                                                                                                                                สุขเกษม กังวานตระกูล / เรียบเรียง

                                                                                                                                                               จูน พร้อมจิตต์ /  แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น

           

                เมื่อผมเห็นผู้หญิงคนไหนแต่งชุดไทยในงานโอกาสต่างๆไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนญี่ปุ่นก็ตามผมในฐานะที่เป็นคน

ไทยคนหนึ่ง ผมรู้สึกภูมิใจในความเป็นไทยมากครับที่เรา มีรูปแบบของเครื่องแต่งกายของเราเอง ดูสวยงาม เรียบร้อย และมีคุณค่ายิ่ง ผมคิดว่าความคิดนี้ก็คงคล้ายๆกับชาวญี่ปุ่นที่มีชุด กีโมโน ยูคาตะ และชุดอื่นๆ ประจำชาติตัวเอง แต่ผมก็มานึกน้อยใจในจิตสำนึกของสังคมไทยก็ตรงที่ว่าไม่มีใจเปิดกว้างที่จะชื่นชมหรือมองในภาพที่ดี เวลาเห็นผู้หญิงแต่งชุดไทย ที่เดินตามถนน ป้ายรถเมล์ หรือในที่สาธารณะต่างๆ  กลับตรงกันข้าม หากใครแต่งเช่นนั้น ก็อาจถูกมองว่าเป็นเรื่องตลกแปลกไปเลย ซึ่งต่างจากผู้หญิงญี่ปุ่นที่แต่งชุด กีโมโน แล้วเดินตาม สาธารณะต่างๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ทั้งๆที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี แต่หาได้ทิ้งเอกลักษณ์ของชาติไม่ ซึ่งเป็นสิ่งชี้ชัดว่าเทคโนโลยีสามารถไปพร้อมกับวัฒนธรรมดั้งเดิมได้ หาได้ถูกกลืนด้วยความเจริญไม่ ซึ่งต่างจากสังคมไทยที่วัฒนธรรมของสมัยดั้งเดิมกำลังจะถูกกลืนด้วยความเจริญสมัยใหม่

                           

                ถึงวันนี้…การแต่งชุดไทยก็คงถูกยอมรับเฉพาะในโอกาสงานพิธีที่สำคัญๆ

                เท่านั้น และ ก็คงเป็นเช่นต่อไป… ดั่งสายน้ำไหล ที่ไม่มีวันหวนกลับคืน…

 

                “ ด้วยความที่ผมชอบชุดไทยมาก ผมก็เลยหารูปแบบชุดไทยมาฝาก

ทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่นจะได้ทราบว่า ชุดไทยมีกี่แบบ และ แบบที่ตัวเองมีอยู่นั้น

เรียกว่า ชุดอะไร แต่ละชุดก็สามารถเลือกแต่งได้ตามความนิยมของท่านเองและที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด ”

 

                การแต่งกายของสตรีไทยในปัจจุบัน นิยมตามใครบ้าง?

 

                ในปัจจุบันการแต่งกายของสตรีไทยได้นิยมตามแบบที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารในพระองค์แสดง แบบเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๐๗ ณ เวทีสวนอัมพรในโอกาสครบรอบร้อย ปีของกาชาดสากล และ นิยมเรียกกันว่า ชุดไทยตามพระราชนิยม ต่อมา ได้เพิ่มเติมขึ้นมี

ทั้งหมด 8 แบบ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

 

 

1. แบบไทยเรือนต้น 2. แบบไทยจิตรลดา 3. แบบไทยอมรินทร์ 4. แบบไทยบรมพิมาน

          

       

5. แบบไทยจักรี 6. แบบไทยดุสิต 7. แบบไทยจักรพรรดิ 8. แบบไทยศิวาลัย

         

            

Text Box: แหล่งข้อมูล :  http://kanchanapisek.or.th/knowledge/index.th.html